พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
พระสมเด็จปรกโพธ...
พระสมเด็จปรกโพธิ์เก้าใบ หลวงพ่อกวย
พระพิมพ์ปรกโพธิ์เก้า หลังยันต์จม พระสร้างน้อยและหายาก ของหลวงพ่อกวย

พระพิมพ์ปรกโพธิ์เก้าใบเนื้อผงของหลวงพ่อกวยทั้ง 5 แบบ ด้านหน้าที่เป็นองค์พระจะมีแม่พิมพ์เพียงหนึ่งชิ้นที่คมชัดลึกและสวยงามอย่างที่เห็น โดยท่านสร้างพระพิมพ์นี้มาตั้งแต่ก่อนปี 2510 แล้ว และด้วยกรรมวิธีการสร้างพระสมเด็จปรกโพธิ์เก้าใบ ที่ใช้บล็อกแม่พิมพ์ 3 ชิ้น คือชิ้นหน้า ชิ้นหลัง และชิ้นกลางที่เป็นตัวบังคับขอบพระ จะทำให้พระที่กดเสร็จแล้ว รอจนแห้งพอสมควรและเมื่อถอดออกมาแล้วก็ไม่ต้องตัดขอบพระด้วยเครื่องมือใดๆ

หากคิดตามหลักการสร้างด้วยพยานวัตถุ พยานหลักฐานที่เป็นจริง ด้วยเหตุผลแบบวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ได้ จะต้องไม่พบว่า..ที่ขอบขององค์พระมีรอยครูดของการตัดขอบเกิดขึ้น เพราะมีกรอบบังคับเป็นรูปองค์เรียบร้อยแล้ว ยิ่งด้านหลังซึ่งใช้แม่พิมพ์อีก 1 ชิ้นกดประทับลงไป และใช้การกดทับด้วยแรงกระทำค่อนข้างมากเพื่อให้เนื้อพระติดชัดในแม่พิมพ์ด้านหน้า ซึ่งแม่พิมพ์ด้านหลังจะต้องเล็กกว่าด้านหน้าเล็กน้อยเพื่อให้กดลงในช่องบังคับของกรอบชิ้นกลางได้พอดี ดังนั้น..อย่างน้อยต้องพบร่องรอยตามริมขอบขององค์พระด้านหลังให้เห็น เช่นรอยกด การปริลั่นร้าวของเนื้อที่กดอัด หรือร่องรอยจากครีบที่เนื้อปลิ้นล้นออกมาตามขอบบ้างเล็กน้อย พระผงที่มีอายุตามความเป็นจริง อย่างน้อยหากไม่ได้ผ่านการใช้มาหนัก จะต้องมีคราบไขและความเก่าตามหลักการพิจารณาผุดขึ้นมาไม่จุดใดก็จุดหนึ่ง

และด้วยเนื้อพระที่ผสมน้ำมันและมวลสารอื่นๆอีก เมื่อผ่านเวลามาระยะหนึ่งก็จะมีคราบไขที่ผุดขึ้นมาจากด้านใน ไม่ใช่คราบที่ทาเคลือบด้านนอก และมีธรรมชาติการหดแห้งตัวของวัสดุตามหลักธรรมชาติให้เห็น ดังนั้นหากมีคราบไขเกิดขึ้นที่ด้านหน้าและด้านหลัง ก็ควรจะต้องมีคราบไขตามธรรมชาติเกิดขึ้นที่ขอบของพระทั้ง 4 ด้านด้วย ยกเว้นพระผานการแช่ทำน้ำมนตร์หรือใช้โดนเหงื่อไคลมาแล้ว ทุกอย่างเป็นหลักการที่พิสูจน์ได้ด้วยวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น

เรื่องขอบข้างขององค์พระ เป็นจุดสำคัญที่สามารถใช้พิจารณาได้อีกอย่างหนึ่ง ที่เห็นทั่วๆไปนั้น..ส่วนใหญ่เป็นการถอดพิมพ์จากองค์ที่ชัดเจนขึ้นมา จึงไม่เคยพบว่าจะมีองค์ใดชัดเจนสมบูรณ์เลยแม้แต่องค์เดียว ซึ่งผิดหลักในความเป็นจริงของการสร้างพระพิมพ์ที่มีแม่พิมพ์ของตัวเอง ที่อย่างน้อยต้องมีองค์ใดบ้างที่ติดชัดในทุกสัดส่วนให้ได้พบเจอ ลองคิดพิจารณาดูในความเป็นจริง หากมีการแกะแม่พิมพ์ขึ้นมาเป็นต้นแบบ ช่างแกะพิมพ์คงไม่แกะให้เส้นขาดๆเกินๆ แหว่งหลุด หรือหนักเบากว่ากันแบบไร้งานศิลปอย่างนั้น ช่างทุกคนมีจิตวิญญาณของศิลปิน ก็จะต้องตรวจสอบแม่พิมพ์ที่ทำซ้ำแล้วซ้ำอีกจนกว่าจะพอใจ

ดังนั้นใบโพธิ์-ก้านโพธิ์ เส้นลายของใบโพธิ์ จะต้องมีน้ําหนักสม่ำเสมอและติดชัดสวยงามตามที่ควรจะเป็น เป็นไปไม่ได้เลยที่ช่างจะแกะแหว่งๆ หลุดๆหรือติดบ้างไม่ติดบ้างอย่างที่เห็น เพราะนี่คือการสร้างพระให้คนนำไปบูชา ไม่ใช่ทำของเล่นให้เด็กชั่วคราว หากท่านเป็นช่างลองคิดดูว่าจะทำอย่างนั้นหรือไม่ ยิ่งหลวงพ่อกวยท่านทำพระแต่ละพิมพ์ล้วนคมชัดลึกสวยงามทั้งสิ้น แต่ที่เราเห็นพระพิมพ์เขยื้อนที่ก้านโพธิ์ ใบโพธิ์ เส้นลายใบติดบ้างไม่ติดบ้าง ก็ไม่ได้มาจากการใช้บูชามาก่อน แต่เพราะมีการถอดพิมพ์จากองค์พระแท้ออกมาอีกทีหนึ่ง ใน 3-400 องค์ที่ดูมาสิบกว่าปีนั้น ไม่เคยเห็นองค์ใดติดชัดครบถ้วนเลยแม้แต่องค์เดียว แถมขอบข้างยังมีการตัดด้วยของมีคมจนเกิดรอยครูด รอยฝนแต่งแบบจงใจเกินไป แล้วอย่างนี้จะถูกต้องหรือไม่ เราสามารถคิดวิเคราะห์และแยกแยะด้วยตนเองอย่างคนมีสติปัญญาและใช้เหตุผลจากหลักการที่ถูกต้อง

หมายเหตุ...องค์ที่เนื้อเขยื้อนจริงๆก็มี แต่จะเป็นธรรมชาติการเลื่อนขยับของเนื้อพระที่ยังไม่แข็งตัวดีพอ ไม่ใช่เขยื้อนจากพิมพ์และไม่ใช่เป็นเหมือนกันทุกองค์ จนนับได้เกินครึ่งพันไปแล้ว ดูจากรอยเขยื้อนให้ดีก็จะรู้ว่าเป็นการเซาะแต่งพิมพ์ให้เขยื้อน
ผู้เข้าชม
30660 ครั้ง
ราคา
-
สถานะ
โชว์พระ
โดย
ชื่อร้าน
หนุ่มเมืองแกลง
ร้านค้า
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
siamaraya
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกสิกรไทย / 391-2-62924-3

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
Le29AmuletOogtakaew กจ.Chobdoysata somemanZomlazzali
Putanarintonmon37MuthitaPoosuphan89สยามพระเครื่องไทยPopgomes
ก้อง วัฒนาAhnnnโกหมูยิ้มสยาม573termboonภูมิ IR
ชาวานิชชา วานิชเจริญสุขหริด์ เก้าแสนep86000899373228
warunyuเปียโนvanglannanatthanetปลั๊ก ปทุมธานีสัก มงคล

ผู้เข้าชมขณะนี้ 420 คน

เพิ่มข้อมูล

พระสมเด็จปรกโพธิ์เก้าใบ หลวงพ่อกวย




  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
พระสมเด็จปรกโพธิ์เก้าใบ หลวงพ่อกวย
รายละเอียด
พระพิมพ์ปรกโพธิ์เก้า หลังยันต์จม พระสร้างน้อยและหายาก ของหลวงพ่อกวย

พระพิมพ์ปรกโพธิ์เก้าใบเนื้อผงของหลวงพ่อกวยทั้ง 5 แบบ ด้านหน้าที่เป็นองค์พระจะมีแม่พิมพ์เพียงหนึ่งชิ้นที่คมชัดลึกและสวยงามอย่างที่เห็น โดยท่านสร้างพระพิมพ์นี้มาตั้งแต่ก่อนปี 2510 แล้ว และด้วยกรรมวิธีการสร้างพระสมเด็จปรกโพธิ์เก้าใบ ที่ใช้บล็อกแม่พิมพ์ 3 ชิ้น คือชิ้นหน้า ชิ้นหลัง และชิ้นกลางที่เป็นตัวบังคับขอบพระ จะทำให้พระที่กดเสร็จแล้ว รอจนแห้งพอสมควรและเมื่อถอดออกมาแล้วก็ไม่ต้องตัดขอบพระด้วยเครื่องมือใดๆ

หากคิดตามหลักการสร้างด้วยพยานวัตถุ พยานหลักฐานที่เป็นจริง ด้วยเหตุผลแบบวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ได้ จะต้องไม่พบว่า..ที่ขอบขององค์พระมีรอยครูดของการตัดขอบเกิดขึ้น เพราะมีกรอบบังคับเป็นรูปองค์เรียบร้อยแล้ว ยิ่งด้านหลังซึ่งใช้แม่พิมพ์อีก 1 ชิ้นกดประทับลงไป และใช้การกดทับด้วยแรงกระทำค่อนข้างมากเพื่อให้เนื้อพระติดชัดในแม่พิมพ์ด้านหน้า ซึ่งแม่พิมพ์ด้านหลังจะต้องเล็กกว่าด้านหน้าเล็กน้อยเพื่อให้กดลงในช่องบังคับของกรอบชิ้นกลางได้พอดี ดังนั้น..อย่างน้อยต้องพบร่องรอยตามริมขอบขององค์พระด้านหลังให้เห็น เช่นรอยกด การปริลั่นร้าวของเนื้อที่กดอัด หรือร่องรอยจากครีบที่เนื้อปลิ้นล้นออกมาตามขอบบ้างเล็กน้อย พระผงที่มีอายุตามความเป็นจริง อย่างน้อยหากไม่ได้ผ่านการใช้มาหนัก จะต้องมีคราบไขและความเก่าตามหลักการพิจารณาผุดขึ้นมาไม่จุดใดก็จุดหนึ่ง

และด้วยเนื้อพระที่ผสมน้ำมันและมวลสารอื่นๆอีก เมื่อผ่านเวลามาระยะหนึ่งก็จะมีคราบไขที่ผุดขึ้นมาจากด้านใน ไม่ใช่คราบที่ทาเคลือบด้านนอก และมีธรรมชาติการหดแห้งตัวของวัสดุตามหลักธรรมชาติให้เห็น ดังนั้นหากมีคราบไขเกิดขึ้นที่ด้านหน้าและด้านหลัง ก็ควรจะต้องมีคราบไขตามธรรมชาติเกิดขึ้นที่ขอบของพระทั้ง 4 ด้านด้วย ยกเว้นพระผานการแช่ทำน้ำมนตร์หรือใช้โดนเหงื่อไคลมาแล้ว ทุกอย่างเป็นหลักการที่พิสูจน์ได้ด้วยวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น

เรื่องขอบข้างขององค์พระ เป็นจุดสำคัญที่สามารถใช้พิจารณาได้อีกอย่างหนึ่ง ที่เห็นทั่วๆไปนั้น..ส่วนใหญ่เป็นการถอดพิมพ์จากองค์ที่ชัดเจนขึ้นมา จึงไม่เคยพบว่าจะมีองค์ใดชัดเจนสมบูรณ์เลยแม้แต่องค์เดียว ซึ่งผิดหลักในความเป็นจริงของการสร้างพระพิมพ์ที่มีแม่พิมพ์ของตัวเอง ที่อย่างน้อยต้องมีองค์ใดบ้างที่ติดชัดในทุกสัดส่วนให้ได้พบเจอ ลองคิดพิจารณาดูในความเป็นจริง หากมีการแกะแม่พิมพ์ขึ้นมาเป็นต้นแบบ ช่างแกะพิมพ์คงไม่แกะให้เส้นขาดๆเกินๆ แหว่งหลุด หรือหนักเบากว่ากันแบบไร้งานศิลปอย่างนั้น ช่างทุกคนมีจิตวิญญาณของศิลปิน ก็จะต้องตรวจสอบแม่พิมพ์ที่ทำซ้ำแล้วซ้ำอีกจนกว่าจะพอใจ

ดังนั้นใบโพธิ์-ก้านโพธิ์ เส้นลายของใบโพธิ์ จะต้องมีน้ําหนักสม่ำเสมอและติดชัดสวยงามตามที่ควรจะเป็น เป็นไปไม่ได้เลยที่ช่างจะแกะแหว่งๆ หลุดๆหรือติดบ้างไม่ติดบ้างอย่างที่เห็น เพราะนี่คือการสร้างพระให้คนนำไปบูชา ไม่ใช่ทำของเล่นให้เด็กชั่วคราว หากท่านเป็นช่างลองคิดดูว่าจะทำอย่างนั้นหรือไม่ ยิ่งหลวงพ่อกวยท่านทำพระแต่ละพิมพ์ล้วนคมชัดลึกสวยงามทั้งสิ้น แต่ที่เราเห็นพระพิมพ์เขยื้อนที่ก้านโพธิ์ ใบโพธิ์ เส้นลายใบติดบ้างไม่ติดบ้าง ก็ไม่ได้มาจากการใช้บูชามาก่อน แต่เพราะมีการถอดพิมพ์จากองค์พระแท้ออกมาอีกทีหนึ่ง ใน 3-400 องค์ที่ดูมาสิบกว่าปีนั้น ไม่เคยเห็นองค์ใดติดชัดครบถ้วนเลยแม้แต่องค์เดียว แถมขอบข้างยังมีการตัดด้วยของมีคมจนเกิดรอยครูด รอยฝนแต่งแบบจงใจเกินไป แล้วอย่างนี้จะถูกต้องหรือไม่ เราสามารถคิดวิเคราะห์และแยกแยะด้วยตนเองอย่างคนมีสติปัญญาและใช้เหตุผลจากหลักการที่ถูกต้อง

หมายเหตุ...องค์ที่เนื้อเขยื้อนจริงๆก็มี แต่จะเป็นธรรมชาติการเลื่อนขยับของเนื้อพระที่ยังไม่แข็งตัวดีพอ ไม่ใช่เขยื้อนจากพิมพ์และไม่ใช่เป็นเหมือนกันทุกองค์ จนนับได้เกินครึ่งพันไปแล้ว ดูจากรอยเขยื้อนให้ดีก็จะรู้ว่าเป็นการเซาะแต่งพิมพ์ให้เขยื้อน
ราคาปัจจุบัน
-
จำนวนผู้เข้าชม
30667 ครั้ง
สถานะ
โชว์พระ
โดย
ชื่อร้าน
หนุ่มเมืองแกลง
URL
เบอร์โทรศัพท์
ติอต่อไลน์ siamaraya
ID LINE
siamaraya
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกสิกรไทย / 391-2-62924-3




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี